ติดต่อลงโฆษณา racingweb@gmail.com

ผู้เขียน หัวข้อ: ระวัง ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่ให้ อาหารสายยาง !  (อ่าน 148 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 447
    • ดูรายละเอียด
ระวัง ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่ให้ อาหารสายยาง !

การให้อาหารทางสายยางแก่ผู้ป่วยนั้น ถือเป็นเรื่องที่มักพบได้บ่อย ซึ่งเป็นการรักษาทางการแพทย์อีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งเป็นการป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้ หรือผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว เกิดภาวะขาดสารอาหาร ซึ่งการให้อาหารทางสายยางนั้น ผู้ดูแลจะต้องมีความรู้ ความเชี่ยวชาญในเรื่องของการให้อาหารและอาหารที่จะนำมาให้ผู้ป่วยนั้นจะต้องมีขั้นตอนกระบวนการการผลิตที่สะอาด วัตถุดิบจะต้องมีความสะอาด ต้องผลิตในสถานที่ที่มีสิ่งแวดล้อมสะอาด และที่สำคัญมีการควบคุมการผลิตโดยนักโภชนาการที่มีความชำนาญในเรื่องของการออกแบบสูตรอาหารเพื่อผู้ป่วย

เพราะผู้ป่วยที่เป็นโรคบางโรคจะต้องมีการรับประทานอาหารที่จำกัด วัตถุดิบบางชนิดก็ห้ามรับประทาน หรือบางกรณีผู้ป่วยอาจจะมีการแพ้อาหาร ซึ่งข้อมูลประจำตัวของผู้ป่วยจะต้องมีการแจ้งให้นักโภชนาการรับทราบ เพื่อที่จะได้ออกแบบอาหารมาเหมาะสมกับร่างกายผู้ป่วย รวมไปถึงสัดส่วนและปริมาณ เพื่อป้องการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยที่ต้องให้อาหารทางสายยาง ซึ่งภาวะแทรกซ้อนที่เกิดในผู้ป่วยนั้น ถือเป็นเรื่องที่อันตรายพอสมควร เนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ เช่นเดียวกันกับการรับประทานยา ก็จะทำให้ลำบากขึ้น เพราะฉะนั้นควรดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด อาหารการกินของผู้ป่วยจะต้องมีความสะอาด และถูกสุขลักษณะมากที่สุด

สำหรับภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยนั้น มักพบได้บ่อย เพราะเนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถรับประทานอาหารได้ปกติ เรื่องของการเกิดภาวะแทรกซ้อนจึงมักพบได้บ่อย สำหรับภาวะแทรกซ้อนที่อาจพบได้ในผู้ป่วยที่ได้รับอาหารทางสายยาง คือภาวะท้องเดินหรืออาการท้องเสียนั่นเอง สาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการท้องเสีย ส่วนใหญ่เกิดจากการเตรียมอาหารที่ไม่สะอาด อาหารมีการปนเปื้อนของเชื้อโรค หรือการให้อาหารในอัตราที่เร็วเกินไป อาหารเย็นเกินไป

อาหารที่ให้ผู้ป่วยมีความเข้มข้นของอาหารเหลวที่ให้มากเกินไป อาหารมีปริมาณไขมันสูงเกิน 20 กรัมต่อลิตร ต่อมาภาวะแทรกซ้อนที่มักพบได้บ่อยเช่นกัน คือภาวะการขาดน้ำ ซึ่งอาจเป็นผลต่อเนื่องจากปัญหาท้องเดิน หรือในผู้ป่วยรายที่ได้อาหารเข้มข้นสูง นอกจากจะสูญเสียน้ำจากอาการท้องเดินแล้วร่างกายยังต้องการน้ำเพิ่มเพื่อมาเจือจางอาหารที่เข้มข้นเกินไป และในผู้ป่วยที่ได้โปรตีนในปริมาณมากเกินไป จะทำให้เกิดปัญหาขาดน้ำได้ นอกจากนี้การสำลักในผู้ป่วยที่ให้อาหารทางสายยาง ซึ่งผู้ดูแลจะต้องระวังเกี่ยวกับอาการสำลัก โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว จะเสี่ยงอันตรายมากเพราะจะเข้าไปที่หลอดลมลงสู่ปอดเกิดภาวะปอดอักเสบจากการสำลักได้ ซึ่งถ้าผู้ป่วยเกิดการสำลักอาหาร ผู้ดูแลควรหยุดการให้อาหารทันที และควรรีบแจ้งแพทย์ผู้ทำการรักษาให้เร็วที่สุด เพื่อแก้ไขปัญหาต่อไป หากปล่อยไว้นานอาจจะเกิดอันตรายแก่ผู้ป่วยได้

และอีกภาวะแทรกซ้อนที่มักพบได้บ่อยมากที่สุดในกลุ่มผู้ป่วยที่ต้องให้ อาหารทางสายยาง คือ การเกิดโรคขาดสารอาหาร พบได้ในผู้ป่วยที่ได้รับอาหารผ่านสายยางเป็นระยะเวลานาน แต่ผู้ป่วยอาจจะได้รับอาหารที่มีปริมาณไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย หรือได้รับอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการไม่ครบถ้วน ที่พบบ่อย คือได้อาหารที่เป็นแหล่งพลังงานไม่เพียงพอ มีสารอาหารที่ไม่ครบถ้วน ซึ่งอาจทำให้ร่างกายผู้ป่วยเกิดการขาดวิตามิน และเกลือแร่ ที่พบบ่อยคือภาวะโซเดียมต่ำ เป็นต้น ซึ่งถือว่าเป็นภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายมากต่อผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้ ซึ่งจุดประสงค์หลักๆของการให้อาหารทางสายยางก็คือการป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยเกิดโรคขาดสารอาหารนั่นเอง เพราะถือว่าเป็นภาวะที่สามารถเป็นอันตรายถึงชีวิตได้เลย

หากเกิดอาการอย่างรุนแรง ทั้งนี้การให้อาหารทางสายยางอาจจะทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะโรคอ้วนอีกด้วย ถึงแม้ว่าผู้ป่วยที่ต้องให้อาหารทางสายยาง อาจจะไม่ได้รับประทานอาหารได้ตามปกติ แต่ก็เสี่ยงการเกิดภาวะโรคอ้วนได้เช่นกัน ผู้ป่วยที่ได้อาหารทางสายยาง ส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยที่ต้องนอนพักบนเตียง ไม่ค่อยมีกิจกรรมการเคลื่อนไหว ดังนั้นเมื่ออยู่ในช่วงพักฟื้น ควรปรับลดปริมาณของพลังงานให้ลดลง เพื่อป้องกันปัญหาการได้รับโภชนาการเกินจนเกิดโรคอ้วนได้ เพราะฉะนั้น ผู้ดูแลควรสังเกตอาการและรูปร่างของผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด หากผู้ป่วยมีอาการผิดปกติ ผู้ดุแลควรรีบแจ้งแพทย์ผู้รักษาทันที เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายแก่ผู้ป่วย