ติดต่อลงโฆษณา racingweb@gmail.com

ผู้เขียน หัวข้อ: ระดับน้ำตาล แค่ไหน เป็นโรคเบาหวาน?  (อ่าน 722 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 447
    • ดูรายละเอียด
ระดับน้ำตาล แค่ไหน เป็นโรคเบาหวาน?

โรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus: DM) เป็นภาวะที่ร่างกายมีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เนื่องจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) หรือการดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน

ทำให้กระบวนการดูดซึมน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงานของเซลล์ในร่างกายมีความผิดปกติหรือทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จนเกิดน้ำตาลสะสมในเลือดปริมาณมาก หากปล่อยให้ร่างกายอยู่ในสภาวะนี้เป็นเวลานานจะทำให้หลอดเลือดและอวัยวะต่างๆ เสื่อม จนเกิดโรคและอาการแทรกซ้อนขึ้น

โรคเบาหวาน เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากความผิดปกติในการทำงานของอวัยวะต่างๆ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น และเกิดโรคแทรกซ้อนทางหลอดเลือดตามมา จนเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะทุพพลภาพหรือเสียชีวิตในที่สุด ซึ่ง โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นชนิดที่พบได้บ่อยในประชากรไทย โดยพบมากขึ้นในผู้สูงอายุ

ในปัจจุบัน ประเทศไทยยึดหลักเกณฑ์ตามสมาคมเบาหวานแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาในการจำแนกผู้ป่วยโรคเบาหวานด้วยการตรวจปริมาณน้ำตาลในเลือด หากผลการตรวจหลังงดอาหารและเครื่องดื่มที่ให้พลังงานอย่างน้อย 8 ชม. หากพบว่ามีน้ำตาลอยู่ในกระแสเลือดไม่เกิน 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร แสดงว่าระดับน้ำตาลในเลือดปกติ ทั้งนี้ระดับน้ำตาลในเลือดยังบ่งบอกถึงภาวะเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานได้ด้วย (Prediabetes) ซึ่งผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อภาวะเป็นเบาหวานสามารถพัฒนาการเกิด โรคเบาหวานประเภทที่ 2 คือเบาหวานที่เกิดจากการที่ตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ไม่เพียงพอต่อการใช้ อันนำไปสู่โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดในสมองในอนาคตได้ง่ายขึ้น




‘อินซูลิน’ เกี่ยวข้องกับ ‘โรคเบาหวาน’ อย่างไร?

อินซูลิน เป็นฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญ โดยสร้างและหลั่งออกมาจากเบต้าเซลล์ของตับอ่อน มีหน้าที่พาน้ำตาลกลูโคสเข้าสู่เนื้อเยื่อส่วนต่างๆ ของร่างกาย เพื่อเผาผลาญและใช้เป็นพลังงานในการดำเนินชีวิต หากร่างกายขาดอินซูลินหรืออินซูลินออกฤทธิ์ได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ ร่างกายก็จะนำน้ำตาลไปใช้ไม่ได้ เป็นเหตุให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นจนเกิดเป็น “โรคเบาหวาน” นอกจากนี้การขาดอินซูลินยังทำให้เกิดความผิดปกติในการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต รวมถึงมีความผิดปกติในด้านอื่นๆ ด้วย เช่น มีการสลายตัวของสารไขมันและโปรตีนในร่างกาย


สาเหตุใดที่ทำให้ตับอ่อนสร้างอินซูลินได้ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย และเพราะอะไรที่ทำให้ร่างกายเกิดภาวะดื้อต่อการออกฤทธิ์ของอินซูลินนั้น ในทางการแพทย์ก็ยังไม่มีคำตอบที่แน่ชัด ทราบแต่เพียงว่า ปัจจัยทั้งทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมนั้นมีส่วนเกี่ยวข้อง โดยคนที่เป็นโรคเบาหวานมักมีประวัติพ่อ แม่ พี่ น้อง หรือญาติเป็นโรคเบาหวานด้วย

โรคเบาหวาน มีอาการอย่างไร ?
อาการหลักๆ ที่เป็นสัญญาณว่าคนๆ นั้นมีความเสี่ยงจะเป็นโรคเบาหวาน ได้แก่ รู้สึกหิวบ่อย กระหายน้ำบ่อย ปัสสาวะมีปริมาณมากและบ่อย รวมถึงอาการต่างๆ เหล่านี้ อาทิ

    เหนื่อย อ่อนเพลีย
    ผิวแห้ง เกิดอาการคันบริเวณผิว
    ตาแห้ง
    มีอาการชาที่เท้า หรือรู้สึกเจ็บแปลบๆ ที่ปลายเท้า หรือที่เท้า
    ร่างกายซูบผอมลงผิดปกติ โดยไม่สามารถหาสาเหตุได้
    เมื่อเกิดบาดแผลที่บริเวณต่างๆ ของร่างกายมักหายช้ากว่าปกติ โดยเฉพาะแผลที่เกิดกับบริเวณเท้า
    สายตาพร่ามัวในแบบที่หาสาเหตุไม่ได้


10 สัญญาณอันตราย โรคเบาหวาน

    อ่อนเพลียง่าย ทั้งๆ ที่พักผ่อนเพียงพอ และไม่ได้ป่วยไข้
    ผอมลงอย่างไม่ทราบสาเหตุ
    ปัสสาวะบ่อยผิดปกติ
    หิวน้ำมากกว่าปกติ (เพราะร่างกายสูญเสียน้ำจากการปัสสาวะบ่อย)
    ตาพร่ามัวลงอย่างไม่ทราบสาเหตุ
    ปวดขา ปวดเข่า
    ผิวหนังแห้งและมีอาการคัน อาจจะคันตามตัว หรือคันบริเวณปากช่องคลอด
    เป็นฝีตามตัวบ่อยๆ
    อารมณ์แปรปรวน โมโหง่าย
    แผลหายช้า ไม่แห้งสนิทหรือขึ้นสะเก็ด

 
ความอ้วนกับโรคเบาหวานเกี่ยวข้องกันหรือไม่?

ปัจจุบันพบว่า น้ำหนักตัวที่มากหรือการมีภาวะอ้วนจะทำให้ร่างกายมีภาวะดื้อต่อการออกฤทธิ์ของอินซูลินมากขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคเบาหวาน โดยเฉพาะในผู้ที่มีความเสี่ยงทางพันธุกรรมอยู่แล้วก็ยิ่งมีโอกาสเป็นโรคเบาหวานสูงขึ้นหากมีภาวะอ้วน


การรักษาโรคเบาหวาน

-    เบาหวานประเภทที่ 1
ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับ ฮอร์โมนอินซูลิน โดยการฉีด เพื่อเข้าไปทดแทน ควบคู่ไปกับการคุมอาหาร และการออกกำลังกายที่เหมาะสม

-    โรคเบาหวานประเภทที่ 2
หากเป็นในระยะแรกๆ สามารถรักษาได้ด้วยการรับประทานอาหารที่เหมาะสม การออกกำลังกายและการควบคุมน้ำหนัก หากอาการไม่ดีขึ้น แพทย์อาจให้ยาควบคู่ไปด้วย หรือฉีดอินซูลินเข้าไปทดแทน เช่นเดียวกับการรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 1

สำหรับผู้เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ควรเข้าฝากครรภ์กับแพทย์ตั้งแต่ในระยะแรก พร้อมทั้งควบคุมการรับประทานอาหารและออกกำลังกายตามคำแนะนำของแพทย์

 
การวินิจฉัยโรคเบาหวาน

แพทย์จะสอบถามอาการผู้ป่วย ประวัติการเจ็บป่วยของผู้ป่วยและของบุคคลในครอบครัว ทำการตรวจร่างกาย เจาะเลือดเพื่อตรวจดูระดับน้ำตาลในเลือด โดยมีวิธีการวิเคราะห์ระดับน้ำตาลในเลือดหลายวิธี ได้แก่

    การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเวลาใดก็ได้ (Random/Casual Plasma Glucose Test)
    การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง (Fasting Plasma Glucose: FPG)
    การตรวจน้ำตาลเฉลี่ยสะสม หรือฮีโมโกลบิน เอ วัน ซี (Hemoglobin A1c: HbA1c)
    การทดสอบการตอบสนองของฮอร์โมนอินซูลินต่อระดับน้ำตาลในเลือด (Oral Glucose Tolerance Test: OGTT)

หากผู้ป่วยไม่มีอาการของโรคเบาหวานชัดเจน คือ หิวน้ำมาก ปัสสาวะบ่อยและมาก น้ำหนักตัวลดลงโดยที่ไม่มีสาเหตุ การตรวจด้วยวิธีทั้งหมดข้างต้นจำเป็นต้องมีการตรวจซ้ำอย่างน้อย 1 ครั้งด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งอีกครั้งหนึ่ง เพื่อยืนยันผลการวินิจฉัย


การรักษาโรคเบาหวาน

ในปัจจุบัน มีเกณฑ์ที่ใช้ในการวินิจฉัยโรคเบาหวานอยู่หลายข้อด้วยกัน แต่ที่นิยมใช้กันมากคือ การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดตอนเช้าหลังอดอาหารและน้ำที่ให้พลังงานข้ามคืน หรืออย่างน้อย 8 ชม. หากระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าหรือเท่ากับ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ก็จะเข้าเกณฑ์การวินิจฉัยโรคเบาหวาน (ค่าปกติ คือน้อยกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร)

หากมีการเจาะเลือดตรวจระดับน้ำตาลโดยไม่อดอาหาร และพบว่าระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากกว่าหรือเท่ากับ 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ร่วมกับคนไข้มีอาการปัสสาวะบ่อย หิวน้ำบ่อย และน้ำหนักลด ก็จัดว่าเข้าเกณฑ์การวินิจฉัยโรคเบาหวาน เช่นกัน

 
ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานที่ต้องระวัง

โรคเบาหวานเป็นโรคที่ส่งผลให้ผู้ป่วยมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากกว่าปกติ หากไม่มีการควบคุมในเรื่องของการรับประทานอาหารและดูแลรักษาสุขภาพอย่างถูกวิธี ปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นเป็นเวลานาน จะส่งผลต่อเส้นเลือดที่นำสารอาหารไปเลี้ยงอวัยวะในร่างกายจนนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ทั้งโรคแทรกซ้อนชนิดที่เกิดกับเส้นเลือดขนาดเล็ก เช่น เบาหวานขึ้นตา โรคไต เป็นต้น หรือโรคแทรกซ้อนชนิดที่เกิดกับเส้นเลือดขนาดใหญ่ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคเส้นเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน เป็นต้น รวมไปถึงโรคแทรกซ้อนที่ระบบประสาท และโรคที่สามารถทำให้ผู้ป่วยต้องสูญเสียอวัยะบางส่วน นอกจากนี้สตรีมีครรภ์ที่เป็นโรคเบาหวานจะเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะครรภ์เป็นพิษ และการแท้งบุตรได้


การป้องกันโรคเบาหวาน

สิ่งสำคัญของการป้องกันโรคเบาหวานทุกชนิด คือ ต้องคอยหมั่นระวังระดับน้ำตาลในเลือดและคอเลสเตอรอลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เน้นการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และสารอาหารครบถ้วน มีกากใยสูง หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่ รวมถึงควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หากเป็นสตรีมีครรภ์ควรเข้ารับการฝากครรภ์ตั้งแต่เนิ่นๆ และเข้าพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ